วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558




เปิดโผที่ดิน แพงสุด-ถูกสุด

        ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นมา กรมธนารักษ์ ประกาศบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบบัญชี ปีพ.ศ. 2555-2558 ทั้งนี้ภาพรวมทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับรอบบัญชี ปีพ.ศ. 2551-2554 มีการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยอยู่ที่ 21.34% เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 17.13% และภูมิภาค 21.40% แยกเป็นรายภาค สูงสุดภาคใต้ 32.25% ภาคตะวันออก 26.04% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22.58% เหนือ 14.84% ภาคตะวันตก 15.55% และภาคกลาง 12.90%

ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบบัญชีปีพ.ศ. 2555-2558 ราคาประเมินที่ดินสูงสุดของประเทศ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่

อันดับ 1

ถนนสีลม จากแยกศาลาแดง-แยกนราธิวาสราชนครินทร์ เพิ่มขึ้น 31% จากตารางวาละ 650,000 บาท เป็น 850,000 บาท
                                  

อันดับ

ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์-คลองแสนแสบ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 800,000 บาทถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 800,000 บาทถนนเพลินจิต ตลอดสาย จากตารางวาละ 430,000 บาท เป็น 800,000 บาท

                               
อันดับ 3

 ถนนราชดำริ จากแยกศาลาแดง-แยกราชประสงค์ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 700,000 บาท
 ถนนเยาวราช ตลอดสาย จากตารางวาละ 550,000 บาท เป็น 700,000 บาท

                                 

พื้นที่ต่างจังหวัด แบ่งออกเป็นส่วนภูมิภาค ดังนี้

อันดับ 1 ภาคใต้ ราคาตารางวาละ 400,000 บาท อยู่ที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนประชาธิปัตย์ และถนนเสน่หานุสรณ์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันดับ 2 ภาคเหนือ ตารางวาละ 250,000 บาท ติดถนนวิชยานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อันดับ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 200,000 บาท ติดถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อันดับ 4 ภาคกลาง ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ติดถนนงามวงศ์วาน และอำเภอเมือง จังหวัดสุมทรปราการ ติดถนนศรีสมุทร ถนนประโคนชัย ถนนด่านเก่า และถนนกายสิทธิ์ (ตลาดปากน้ำ) อันดับ 5ภาคตะวันออก ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท บริเวณถนนเลียบหาดพัทยา (ถนนพัทยาสาย 1) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อันดับ 6 ภาคตะวันตก ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท เป็นที่ดินติดชายทะเล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่ดินที่ราคาถูกที่สุดในประเทศ

- ภาคกลาง ตารางวาละ 10 บาท คือ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

- ภาคเหนือ ตารางวาละ 10 บาท  คือ อำเภอดอยหล่อ แม่แจ่ม และกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

 - ภาคตะวันตก ตารางวาละ 20 บาท คือ อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

- ภาคตะวันออก ตารางวาละ 25 บาท มี 2 จังหวัด คือ อำเภอขลุง, อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอตาพระยา, อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว 

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตารางวาละ 25 บาท มี 2 จังหวัด คือ อำเภอเมือง, อำเภอนิคมคำสร้อย, อำเภอคำชะอี และอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอศรีเมืองใหม่, อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

- ภาคใต้ ตารางวาละ 25 บาท พื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา- กรุงเทพฯ ตารางวาละ 500 บาท ในพื้นที่ชายทะเล เขตบางขุนเทียน

 อ้างอิง : http://home.kapook.com/view44185.html



เว็บไซต์ดีดีมีสาระ,,


ค้นหาราคาประเมินที่ดิน


ระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน (LandPlan) 

http://www.ldd.go.th/gisweb/landuse/main_landuse.html

เว็บไซต์กรมที่ดิน,ค้นหาข้อมูลการจัดสรรที่ดิน

http://www.dol.go.th/dol/index.php

สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

http://www.freesplans.com/FP_landprice/FP_landprice_new.asp


  ปัจจัยที่ทำให้"สัริรัย์"ราคาสูง           

         สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นหรือต่ำลง  มีอยู่มากมายหลายปัจจัย อย่างไรก็ดีถ้าหากนำมาจัดเป็นกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว จะประกอบไปด้วย 12 ปัจจัยหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. ลักษณะของที่ดิน ที่ดินสองแปลงมีเนื้อที่เท่ากัน แต่รูปร่างของที่ดินอาจทำให้ราคาต่อหน่วยของที่ดินทั้งสองแปลงนั้นแตกต่างกันได้  เช่นที่ดินที่มีด้านหน้าติดถนนกว้างกว่า อาจมีราคาสูงกว่า  เพราะอาจได้แระโยชน์ใช้สอยมากกว่า
 2. เนื้อที่ของที่ดิน ที่ดินที่อยู่ใกล้กัน แต่มีเนื้อที่ไม่เท่ากัน อาจมีราคาต่อหน่วยต่างกันได้ กล่าวคือที่ดินที่มีเนื้อที่มากย่อมมีราคาต่อหน่วยถูกกว่าที่ดินที่มีเนื้อที่น้อย เพราะว่าที่ดินเนื้อที่มากต้องประเมินราคาเฉลี่ย และต้องคำนึงถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนมือด้วย ตามปกติทั่วไปที่ดินที่มีจำนวนหน่วยน้อยย่อมขายได้ง่าย คล่องตัวกว่าที่ดินที่มีจำนวนหน่วยมาก ทั้งนี้เพราะว่าจำนวนเงินที่ใช้ซื้อจะน้อยกว่า
 3. การปรับปรุงที่ดิน  หมายถึงการทำให้ที่ดินมีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเป็นการถมที่ดิน ทำสนามหญ้า หรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นที่ดินที่ยังรกร้างว่างเปล่าย่อมทีราคาต่ำกว่าที่ดินที่มีการปรับปรุงแล้ว และที่ดินที่ได้รับการปรับปรุงที่แตกต่างกัน ก็ย่อมจะมีราคาต่างกันได้
 4.การคมนาคม มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดินแตกต่างกัน ที่ดินที่มีการคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถีงที่ดินได้ ความเจริญจะขยายตัวได้รวดเร็วกว่าจึงทำให้ราคาสูงกว่าที่ดินที่มีการคมนาคมเข้า-ออก ไม่สะดวก เช่น ที่ดินทีอยู่ริมถนนใหญ่ จะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่อยู่ติดถนนซอย นอกจากนั้นให้พอจารณาถึงสภาพะถนนหนทางด้วยว่า เป็นถนนคอนกรีต ลาดยาง หรือลูกรัง เพราะมีผลทำให้ที่ดินแตกต่างกันความสะดวกเหล่านี้ ทำให้ที่ดินมีราคารสูงกว่าบริเวณที่ไม่มี


 5. สิ่งแวดล้อม ที่ดินที่อยุ่ในย่านการค้า ย่านที่อยู่อาศัย ย่านโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมมีราคาสูงกว่าที่ดอนที่อยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม ถ้าเป็นแหล่งที่ทำเกษตร ต้องพิจารณาว่าการชลประทานเข้าถึงหรือไม่ จะสังเกตได้จากการที่ดินที่อยู่ใกล้กองขยะกรุงเทพมหานคร จะไม่ค่อยมีผู้อย่อาศัยไม่ค่อยมีการซื้อขายเปลี่ยนมือ หรือหมู่บ้านจัดสรร ที่มีการสาธารณูปโภคครบถ้วน จะมีผู้เข้าอาศัยหนาแน่น
 6. ทำเลที่ตั้งและความนิยม ที่ดินย่านใดประกอบกิจการประเภทอะไรผู้คนมักนิยมเข้าไปประกอบกิจการประเภทนั้นๆ เป็นกลุ่มๆ 
เช่นย่านธุรกิจพาณิชยกรรม หรือย่านอุตสาหกรรม จึงทำให้เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้ประกอบการ ราคาย่อมสูงกว่าที่ที่ไม่มีคนนิยม
 7. ภาระติดพันของทีดิน ที่ดินที่มีภาระติดพัน เป็นการรอนสิทธิของเจ้าของที่ดิน ที่ทำให้เจ้าของที่ดินไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดิน
เต็มที่ จึงมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่ไม่มีภาระติดพัน ตัวอย่างภาระติดพันของที่ดิน เช่น ที่ดินติดภาระการเช่า เป็นต้น
 8. การใช้ประโยชน์ของที่ดิน ที่ดินแต่ละแปลงสามารถใช้ประโยชน์ได้มากน้อยไม่เหมือนกัน ราคาจึงย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณะของทีดิน ทำเลและอื่นๆ และที่ดินที่มีการทำประโยชน์แล้วจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ นอกจากนี้ที่ดินที่ที่ได้ผลประโยชน์แล้ว เช่นที่ดินสวนผลไม้ที่ออกผลแล้ว จะมีราคาสูงกว่าที่ดินสวนผลไม้ที่เริ่มปลูก  
 9. หลักฐานการรับรองสิทธิ หมายถึงหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โฉนด ตราจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)และใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) การที่ที่ดินมีเอกสารการรับรองสิทธิแตกต่างกันนี้ จะทำให้ราคาแตกต่างกัน เพราะว่าเอกสารบาง
อย่างไม่มีการรับรองสิทธิอย่าแน่นอน อาจได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น กล่าวคือ ที่ดินที่มีใบ ส.ค.1ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ดินทีเป็น น.ส.3 และที่ดินที่เป็น น.ส.3 ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่เป็นโฉนด
 10. เขตเวนคืน หรือเขตหวงห้าม ที่ดินบางแห่งถูกกำหนดเป็นเขตที่จะต้องเวนคืนมาเป็นของทางราชการ หรือถูกกำหนดเป็นเขต
หวงห้าม เช่น ห้ามเข้าทำการก่อสร้าง เพื่อที่รัฐจะใช้ที่ดินบริเวณนั้นในกิจการสาธารณประโยชน์ จะทำให้ราคาที่ดินมีแนวโน้มต่ำลง หรืออาจไม่มีราคาเลยเพราะไม่มีผู้ต้องการเป็นเจ้าของอีกต่อไป เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางด่วนทางหลวง และที่ดินที่สายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านจะห้ามการก่อสร้างใดๆ บริเวณนั้น เป็นต้น ในกรณีกลับกัน ที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางเพียงบางส่วนส่วนที่เหลืออาจมีราคาสูงกว่าราคาเดิมได้
 11. กฎหมายที่เกี่ยงข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติผังเมือง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และประกาศกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้มีข้อหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์อุตสาหกรรม หรือเขตที่อยู่อาศัย ตามพระราช
บัญญัติผังเมือง หรือการกำหนดเขตพื้นที่สีเขียวตามแระกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อกำหนดต่าง ๆ นี้ จำเป็นต้องนำไปพิจารณาประกอบการประเมิณราคาด้วย

อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์ : การลงทุนในที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพ
  



 อ้างอิง : http://www.wimarn.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD
%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0
%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%
B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%
B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%
A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%
B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81.html

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

ระบบบริหารจัดการโรงแรม 

(Property Management System)

                      การบริหารจัดการโรงแรมในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการโรงแรมหรือ Property Management System (PMS) ที่จะช่วยให้การบริหารและการปฏิบัติงานของโรงแรมมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
                    ในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ Property Management System (PMS) มาใช้ในการบริหารธุรกิจโรงแรมนั้นจะช่วยเพิ่มความสะดวก และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงแรม ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบย่อยที่รองรับและสนับสนุนงานด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.Front Office เป็นระบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการห้องพักสำหรับพนักงานส่วนหน้าของโรงแรม
2. Back Office เป็นระบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการงานด้านอื่นๆ ภายในโรงแรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้านการให้บริการห้องพัก ที่สำคัญคือระบบควบคุมทางด้านการเงิน การบัญชี และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
3. Business Sources เป็นระบบที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งที่มาของธุรกิจ เพื่อจัดทำรายงาน สถิติ เพื่อการวิเคราะห์แฃะประเมินผล
4. Business Intelligence เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานด้านการตลาดและการขายของโรงแรม


อ้างอิง : http://www.ihotelguru.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=70:pms-property-management-system