วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ภาพถ่ายจากดาวเทียม: เมืองลา พลาตา กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา มีผังเมืองเป็นรูปตาราง (apple maps)

อ้างอิง : https://twitter.com/sermsin_s/status/476927462312398848/photo/1

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558




เปิดโผที่ดิน แพงสุด-ถูกสุด

        ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นมา กรมธนารักษ์ ประกาศบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบบัญชี ปีพ.ศ. 2555-2558 ทั้งนี้ภาพรวมทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับรอบบัญชี ปีพ.ศ. 2551-2554 มีการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยอยู่ที่ 21.34% เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 17.13% และภูมิภาค 21.40% แยกเป็นรายภาค สูงสุดภาคใต้ 32.25% ภาคตะวันออก 26.04% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22.58% เหนือ 14.84% ภาคตะวันตก 15.55% และภาคกลาง 12.90%

ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบบัญชีปีพ.ศ. 2555-2558 ราคาประเมินที่ดินสูงสุดของประเทศ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่

อันดับ 1

ถนนสีลม จากแยกศาลาแดง-แยกนราธิวาสราชนครินทร์ เพิ่มขึ้น 31% จากตารางวาละ 650,000 บาท เป็น 850,000 บาท
                                  

อันดับ

ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกราชประสงค์-คลองแสนแสบ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 800,000 บาทถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกปทุมวัน-แยกราชประสงค์ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 800,000 บาทถนนเพลินจิต ตลอดสาย จากตารางวาละ 430,000 บาท เป็น 800,000 บาท

                               
อันดับ 3

 ถนนราชดำริ จากแยกศาลาแดง-แยกราชประสงค์ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น 700,000 บาท
 ถนนเยาวราช ตลอดสาย จากตารางวาละ 550,000 บาท เป็น 700,000 บาท

                                 

พื้นที่ต่างจังหวัด แบ่งออกเป็นส่วนภูมิภาค ดังนี้

อันดับ 1 ภาคใต้ ราคาตารางวาละ 400,000 บาท อยู่ที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ถนนประชาธิปัตย์ และถนนเสน่หานุสรณ์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันดับ 2 ภาคเหนือ ตารางวาละ 250,000 บาท ติดถนนวิชยานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อันดับ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 200,000 บาท ติดถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อันดับ 4 ภาคกลาง ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท ใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ติดถนนงามวงศ์วาน และอำเภอเมือง จังหวัดสุมทรปราการ ติดถนนศรีสมุทร ถนนประโคนชัย ถนนด่านเก่า และถนนกายสิทธิ์ (ตลาดปากน้ำ) อันดับ 5ภาคตะวันออก ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท บริเวณถนนเลียบหาดพัทยา (ถนนพัทยาสาย 1) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อันดับ 6 ภาคตะวันตก ราคาอยู่ที่ตารางวาละ 150,000 บาท เป็นที่ดินติดชายทะเล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่ดินที่ราคาถูกที่สุดในประเทศ

- ภาคกลาง ตารางวาละ 10 บาท คือ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

- ภาคเหนือ ตารางวาละ 10 บาท  คือ อำเภอดอยหล่อ แม่แจ่ม และกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

 - ภาคตะวันตก ตารางวาละ 20 บาท คือ อำเภอสังขละบุรี และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

- ภาคตะวันออก ตารางวาละ 25 บาท มี 2 จังหวัด คือ อำเภอขลุง, อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอตาพระยา, อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว 

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตารางวาละ 25 บาท มี 2 จังหวัด คือ อำเภอเมือง, อำเภอนิคมคำสร้อย, อำเภอคำชะอี และอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอศรีเมืองใหม่, อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

- ภาคใต้ ตารางวาละ 25 บาท พื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา- กรุงเทพฯ ตารางวาละ 500 บาท ในพื้นที่ชายทะเล เขตบางขุนเทียน

 อ้างอิง : http://home.kapook.com/view44185.html



เว็บไซต์ดีดีมีสาระ,,


ค้นหาราคาประเมินที่ดิน


ระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน (LandPlan) 

http://www.ldd.go.th/gisweb/landuse/main_landuse.html

เว็บไซต์กรมที่ดิน,ค้นหาข้อมูลการจัดสรรที่ดิน

http://www.dol.go.th/dol/index.php

สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน

http://www.freesplans.com/FP_landprice/FP_landprice_new.asp


  ปัจจัยที่ทำให้"สัริรัย์"ราคาสูง           

         สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นหรือต่ำลง  มีอยู่มากมายหลายปัจจัย อย่างไรก็ดีถ้าหากนำมาจัดเป็นกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว จะประกอบไปด้วย 12 ปัจจัยหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. ลักษณะของที่ดิน ที่ดินสองแปลงมีเนื้อที่เท่ากัน แต่รูปร่างของที่ดินอาจทำให้ราคาต่อหน่วยของที่ดินทั้งสองแปลงนั้นแตกต่างกันได้  เช่นที่ดินที่มีด้านหน้าติดถนนกว้างกว่า อาจมีราคาสูงกว่า  เพราะอาจได้แระโยชน์ใช้สอยมากกว่า
 2. เนื้อที่ของที่ดิน ที่ดินที่อยู่ใกล้กัน แต่มีเนื้อที่ไม่เท่ากัน อาจมีราคาต่อหน่วยต่างกันได้ กล่าวคือที่ดินที่มีเนื้อที่มากย่อมมีราคาต่อหน่วยถูกกว่าที่ดินที่มีเนื้อที่น้อย เพราะว่าที่ดินเนื้อที่มากต้องประเมินราคาเฉลี่ย และต้องคำนึงถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนมือด้วย ตามปกติทั่วไปที่ดินที่มีจำนวนหน่วยน้อยย่อมขายได้ง่าย คล่องตัวกว่าที่ดินที่มีจำนวนหน่วยมาก ทั้งนี้เพราะว่าจำนวนเงินที่ใช้ซื้อจะน้อยกว่า
 3. การปรับปรุงที่ดิน  หมายถึงการทำให้ที่ดินมีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม จะเป็นการถมที่ดิน ทำสนามหญ้า หรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นที่ดินที่ยังรกร้างว่างเปล่าย่อมทีราคาต่ำกว่าที่ดินที่มีการปรับปรุงแล้ว และที่ดินที่ได้รับการปรับปรุงที่แตกต่างกัน ก็ย่อมจะมีราคาต่างกันได้
 4.การคมนาคม มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดินแตกต่างกัน ที่ดินที่มีการคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถีงที่ดินได้ ความเจริญจะขยายตัวได้รวดเร็วกว่าจึงทำให้ราคาสูงกว่าที่ดินที่มีการคมนาคมเข้า-ออก ไม่สะดวก เช่น ที่ดินทีอยู่ริมถนนใหญ่ จะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่อยู่ติดถนนซอย นอกจากนั้นให้พอจารณาถึงสภาพะถนนหนทางด้วยว่า เป็นถนนคอนกรีต ลาดยาง หรือลูกรัง เพราะมีผลทำให้ที่ดินแตกต่างกันความสะดวกเหล่านี้ ทำให้ที่ดินมีราคารสูงกว่าบริเวณที่ไม่มี


 5. สิ่งแวดล้อม ที่ดินที่อยุ่ในย่านการค้า ย่านที่อยู่อาศัย ย่านโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมมีราคาสูงกว่าที่ดอนที่อยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม ถ้าเป็นแหล่งที่ทำเกษตร ต้องพิจารณาว่าการชลประทานเข้าถึงหรือไม่ จะสังเกตได้จากการที่ดินที่อยู่ใกล้กองขยะกรุงเทพมหานคร จะไม่ค่อยมีผู้อย่อาศัยไม่ค่อยมีการซื้อขายเปลี่ยนมือ หรือหมู่บ้านจัดสรร ที่มีการสาธารณูปโภคครบถ้วน จะมีผู้เข้าอาศัยหนาแน่น
 6. ทำเลที่ตั้งและความนิยม ที่ดินย่านใดประกอบกิจการประเภทอะไรผู้คนมักนิยมเข้าไปประกอบกิจการประเภทนั้นๆ เป็นกลุ่มๆ 
เช่นย่านธุรกิจพาณิชยกรรม หรือย่านอุตสาหกรรม จึงทำให้เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้ประกอบการ ราคาย่อมสูงกว่าที่ที่ไม่มีคนนิยม
 7. ภาระติดพันของทีดิน ที่ดินที่มีภาระติดพัน เป็นการรอนสิทธิของเจ้าของที่ดิน ที่ทำให้เจ้าของที่ดินไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดิน
เต็มที่ จึงมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่ไม่มีภาระติดพัน ตัวอย่างภาระติดพันของที่ดิน เช่น ที่ดินติดภาระการเช่า เป็นต้น
 8. การใช้ประโยชน์ของที่ดิน ที่ดินแต่ละแปลงสามารถใช้ประโยชน์ได้มากน้อยไม่เหมือนกัน ราคาจึงย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปลักษณะของทีดิน ทำเลและอื่นๆ และที่ดินที่มีการทำประโยชน์แล้วจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ นอกจากนี้ที่ดินที่ที่ได้ผลประโยชน์แล้ว เช่นที่ดินสวนผลไม้ที่ออกผลแล้ว จะมีราคาสูงกว่าที่ดินสวนผลไม้ที่เริ่มปลูก  
 9. หลักฐานการรับรองสิทธิ หมายถึงหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โฉนด ตราจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)และใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) การที่ที่ดินมีเอกสารการรับรองสิทธิแตกต่างกันนี้ จะทำให้ราคาแตกต่างกัน เพราะว่าเอกสารบาง
อย่างไม่มีการรับรองสิทธิอย่าแน่นอน อาจได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น กล่าวคือ ที่ดินที่มีใบ ส.ค.1ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ดินทีเป็น น.ส.3 และที่ดินที่เป็น น.ส.3 ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่เป็นโฉนด
 10. เขตเวนคืน หรือเขตหวงห้าม ที่ดินบางแห่งถูกกำหนดเป็นเขตที่จะต้องเวนคืนมาเป็นของทางราชการ หรือถูกกำหนดเป็นเขต
หวงห้าม เช่น ห้ามเข้าทำการก่อสร้าง เพื่อที่รัฐจะใช้ที่ดินบริเวณนั้นในกิจการสาธารณประโยชน์ จะทำให้ราคาที่ดินมีแนวโน้มต่ำลง หรืออาจไม่มีราคาเลยเพราะไม่มีผู้ต้องการเป็นเจ้าของอีกต่อไป เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางด่วนทางหลวง และที่ดินที่สายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านจะห้ามการก่อสร้างใดๆ บริเวณนั้น เป็นต้น ในกรณีกลับกัน ที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางเพียงบางส่วนส่วนที่เหลืออาจมีราคาสูงกว่าราคาเดิมได้
 11. กฎหมายที่เกี่ยงข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติผังเมือง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และประกาศกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้มีข้อหาและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์อุตสาหกรรม หรือเขตที่อยู่อาศัย ตามพระราช
บัญญัติผังเมือง หรือการกำหนดเขตพื้นที่สีเขียวตามแระกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อกำหนดต่าง ๆ นี้ จำเป็นต้องนำไปพิจารณาประกอบการประเมิณราคาด้วย

อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์ : การลงทุนในที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพ
  



 อ้างอิง : http://www.wimarn.com/%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD
%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0
%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%
B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%
B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%
A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%
B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81.html

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

ระบบบริหารจัดการโรงแรม 

(Property Management System)

                      การบริหารจัดการโรงแรมในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการโรงแรมหรือ Property Management System (PMS) ที่จะช่วยให้การบริหารและการปฏิบัติงานของโรงแรมมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
                    ในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ Property Management System (PMS) มาใช้ในการบริหารธุรกิจโรงแรมนั้นจะช่วยเพิ่มความสะดวก และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงแรม ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบย่อยที่รองรับและสนับสนุนงานด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.Front Office เป็นระบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการด้านการให้บริการห้องพักสำหรับพนักงานส่วนหน้าของโรงแรม
2. Back Office เป็นระบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการงานด้านอื่นๆ ภายในโรงแรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้านการให้บริการห้องพัก ที่สำคัญคือระบบควบคุมทางด้านการเงิน การบัญชี และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
3. Business Sources เป็นระบบที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งที่มาของธุรกิจ เพื่อจัดทำรายงาน สถิติ เพื่อการวิเคราะห์แฃะประเมินผล
4. Business Intelligence เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานด้านการตลาดและการขายของโรงแรม


อ้างอิง : http://www.ihotelguru.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=70:pms-property-management-system

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเมินค่าโรงแรม . . . ทำกันอย่างไร

ขั้นตอนการประเมินโรงแรมในความเป็นจริง ขั้นตอนการดำเนินการสามารถสรุปได้โดยสังเขปดังนี้:
          1. การประเมินสถานะและสถานการณ์ตลาดของโรงแรมที่จะประเมินเชิงเปรียบเทียบว่าอยู่ในห้วงไหนขอวัฏจักรชีวิตธุรกิจ เพื่อใช้พิจารณาการประมาณการกระแสรายได้ ระยะเวลาการรับรู้รายได้ และความผันแปรในอนาคต 
          2. การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง (ถนน ทางเข้า การเข้าถึง การมองเห็น ที่จอดรถ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ผังเมือง เพื่อการกำหนดความอ่อนไหว (sensitivity) ของรายได้ในอนาคต 
          3. วิเคราะห์รายได้สุทธิ ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับกระแสรายได้จากทุกแหล่ง ค่าใช้จ่าย อัตราว่าง ค่าบำรุงรักษา ฯลฯ ซึ่งเป็นรายการที่สมควรทั้งหมด รายได้สุทธินี้อาจเป็น ณ ปีหนึ่ง หรือเป็นการประมาณการกระแสรายได้ก็ได้ 
          4. ประมาณการอัตราผลตอบแทนจากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ประกอบกับการประมาณการความอ่อนไหวในอนาคต 
          5. ดำเนินการวิเคราะห์มูลค่าตามวิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่า (income approach to value) ซึ่งหากนำมาวิเคราะห์โดยตรง (direct capitalization approach) ก็คือการใช้วิเคราะห์ตามสูตรพื้นฐาน คือ มูลค่า = รายได้สุทธิ หารด้วยอัตราผลตอบแทน หรือ เพื่อการวิเคราะห์ตามกระแสเงินสดในระยะยาว (DCF: discounted cashflow)พร้อมด้วยสมมติฐานต่าง ๆ 
          6. ความจริงอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ก็ควรใช้วิธีการแปลงรายได้เป็นมูลค่าเป็นสำคัญ แต่เพื่อการเปรียบเทียบผล การทบทวนมูลค่าที่ประเมินได้และอาจนำไปสู่การปรับปรุงตัวเลขที่วิเคราะห์ได้ ก็ควรทำการประเมินด้วยวิธีการเปรียบเทียบตลาด (market approach to value) และการประเมินโดยวิธีต้นทุน (cost approach to value) เช่นกัน



อ้างอิง : http://www.thaiappraisal.org/thai/valuation/valuation25.htm

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำศัพท์ที่พบบ่อยและความหมาย


settlement
 หมายถึง การตั้งถิ่นฐาน เปนกระบวนการอยางหนึ่งที่มนุษยเขาไปบุกเบิกครอบครองและดัดแปลงพื้นที่เพื่อตั้งหลักแหลงที่อยูอาศัยและทํามาหากิน แหลงที่ตั้งถิ่นฐานที่เกิดขึ้นสวนใหญมักประกอบดวยปจจัยพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานที่เหมือนกัน คือ มีอาหาร น้ําและที่กําบังภัย

ทำไมถึงต้องมีการตั้งถิ่นฐาน ?
ตอบ : การตั้งถิ่นฐานเป็นการก่อให้เกิดมีที่พักอาศัย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของการอยู่รอดของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องมีที่พักอาศัย เพื่อการหลับนอน ทำกิจวัตรต่าง ๆ 
       

Urbanization หมายถึง การขยายตัวเข้าสู่เมือง เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขยายตัวของเมือง เมื่อชานเมืองมีประชากรเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมากขึ้น มีความเจริญทั้งด้านสาธารณูปโภค และอุปโภค สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ส่วนหนึ่งของลักษณะกระบวนการกลายเป็นเมือง

ประชากรกับปัญหาการเจริญเติบโตของความเป็นเมือง
      การเพิ่มประชากรและความแตกต่างในการดำรงชีวิตระหว่างเมืองกับชนบท  เป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดการโยกย้ายจากชนบทเข้าสู่เมือง ถ้าควบคุมไม่ดีจะทำให้บางเมืองโตเร็วเกินไป เป็นลักษณะเมืองโตเดี่ยวการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับไม่ทันการณ์  ก่อเกิดปัญหาเมืองตามมาอย่างมาก เช่น  ระบบการขนส่งมวลชน จราจรติดขัด  มลภาวะทางอากาศ  มลภาวะทางเสียง แหล่งสลัม ความปลอดภัยในชีวิต  เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนให้เมืองใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทุกส่วนของประเทศป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้แต่ละเมืองมีขนาดใกล้เคียงกัน   ลดปัญหาที่ติดอยู่กับความเป็นเมืองลดลงได้
 settlement hierarchy หมายถึง การลำดับการตั้งถิ่นฐาน เพื่อให้เข้าใจลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐาน รู้ถึงทฤษฏีจุดศูยน์กลาง เข้าใจว่าลำดับการตั้งถิ่นฐานมีอิทธิผลการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง เช่น การตั้งถิ่นอาศัยกับควาามมั่นคงทางฐานะ เป็นต้น

จำนวนประชากร หมายถึง มนุษย์ที่ครอบครองพื้นผิวโลก ตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป มาตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราว จนจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้าน

ที่ดิน (Land) หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆ ทางกายภาพของสิ่งแวดล้อม (physical environment) ทั้งหมดของพื้นแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วย บรรยากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน (atmosphere) ดิน (soils) น้ำ (water) หิน (rocks) สภาพภูมิประเทศ (topography) พืชและสัตว์ (plants and animals) และผลของการกระทำของมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน (past and present human activity) ส่วนประกอบเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
 
Property = land + buildingเป็นการรวมตัวกันของ Land และ Building ในพื้นที่หนึ่ง
ตัวอย่างเช่น คอนโตมิเนียม มีกรรมสิทธิ์เพียงแค่ในห้องงนั้น แต่ไม่ได้อยู่บยพื้นดินบริเวณนั้น



 อ้างอิง
: http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/03Population/Life_3.htm
: http://www.slideshare.net/ajp/what-is-a-settlement-hierarchy
:https://paow007.wordpress.com/2013/04/07/10%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%97/
: http://203.114.124.2/elnweb/Photo/342/342_100.pdf